ประวัติเครื่องปั้นดินเผา (เกาะเกร็ด)
เกาะเกร็ดเป็นเกาะขนาดใหญ่กลางแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตอำเภอปากเกร็ด
จังหวัดนนทบุรีเกาะเกร็ดเกิดจากการขุกคลองลัด
ตรงแผ่นดินส่วนที่เป็นแหลมยื่นไปตามความโค้งของแม่น้ำเจ้าพระยา
คลองขุดในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระเมื่อ พ.ศ. 2265 เรียกคลองที่ขุดว่า คลองลัดเกร็ดน้อย
หรือ คลองลัดเกร็ด ซึ่งช่างปั้นที่เกาะเกร็ดนั้นแต่เดิมแล้วย้ายมาจากเมืองมอญ
ซึ่งหนีจากการรุกรานของพม่าเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ซึ่งท่านได้ให้ครอบครัวชาวมอญได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านปากเกร็ดเมืองนนทุบรี คนมอญเหล่านี้ต่างมาจากหลายที่และมีความชำนาญในการทำเครื่องปั้นดินเผาประเภทต่าง
ๆ เมื่อมาอยู่ก็พบว่าดินที่นี่เหมาะในการทำเครื่องปั้นดินเผา
การทำเครื่องปั้นดินเผาเริ่มแรกได้ทำในชุมชนมอญที่เกาะเกร็ดด้านอ้อมเกร็ดและปากคลองบ้านแหลม
แต่บริเวณปากคลองบ้านแหลมเป็นที่ลุ่มไม่เหมาะสมแก่การทำเครื่องปั้นดินเผาจึงเลิกไป
คงมีเฉพาะที่เกาะเกร็ดที่มีการทำเครื่องปั้นดินเผาสืบต่อมาการทำเครื่องปั้นดินเผาในระยะแรก
ๆ นี้เป็นการทำภาชนะใช้สอยภายในชุมชนเท่านั้น ต่อมาบริเวณเกาะเกร็ดหมู่ 1, 6, 7 จึงกลายเป็นแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งมีชื่อเรียกตามภาษามอญว่า
กวานฮาโม (บ้านล่าง), กวานฮาตาว(บ้านบน), กวานอาม่าน, กวานโต้ และ กวานอะล้าด
เครื่องปั้นดินเผาของชาวเกาะเกร็ดมีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดใหญ่จนถึงขนาดเล็ก
ตกแต่งแบบเรียบง่ายหรืออาจมีการแกะสลักลวดลายบ้างเพียงเล็กน้อย ได้แก่ โอ่ง อ่าง
ครก กระปุก และโอ่งพลู เป็นต้น
ส่วนเครื่องปั้นดินเผาที่ทำขึ้นเพื่อมอบแก่บุคคลสำคัญ ก็จะมีหลายรูปแบบ เช่น
หม้อน้ำ โอ่งสลักลายวิจิตร
ซึ่งสามารถสั่งทำได้เกือบทุกรูปแบบตามความต้องการของผู้สั่ง ทางราชการได้เห็นคุณค่าของการทำเครื่องปั้นดินเผาจึงได้ถือเอา
หม้อน้ำลายวิจิตร เป็นตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดนนทบุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-ShareAlike 4.0 International License.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น